ยินดีต้อนรับสู่ บล็อคภาษาไทย

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น  คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน  คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว  โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ  โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้  นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง  ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น  คนฟังยิ่งมากยิ่งดี  ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน  แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน  เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย
การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น  แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น  หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน  หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้  ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ  นี่เอง  การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน  เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้
การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม  จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้  จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่  หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง  หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม  หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม  เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน  การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน  เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน  เช่นคุณทำก่อน  เธอทำก่อน  แล้วผมค่อยทำ  แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที  ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ  ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่  ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์  แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย
การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี  ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน  หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง  ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน  หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้  แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์  รู้จักทำหน้าที่  ฯลฯ  นั่นเอง



วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นมา

เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนืือหาว่าด้วย มงคล 38 อันเป็นพระสูตร หนึ่งในพระไตรปิฏก พระสุตตันัปิฏก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
คำว่ามงคล หมายถง เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า และ สูตร หมายถึง คำสอนในพระพุทธศาสนา มงคลสูตร จึงหมายความว่า พระธรรมหรือคำสอน ในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า


ประวัติผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ โยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายอย่าง เช่น บทละคร บทความ นิทาน นิยาย สารคดี เป็นต้น และทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็ฯสื่อสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง
บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องที่ยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว
มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครคำพูดฉันท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้รับการถวายพระราชสมญานามว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และในพ.ศ. ๒๕๑๕ พระองค์ทรงยังได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย


ลักษณะคำประพันธ์
 มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโยทรงนำคาถาบาลาที่เป็น “มงคลสูตร” ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฏกมาแปล แล้วทรงเรียบเรียงแต่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่มีสัมผัสคล้องจอง ท่องจำง่าย และสามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ โดยทรงใช้คำประพันธ์ ๒ ประเภท คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (ดูแบบแผนการประพันธ์และฉันทลักษณ์ได้ในหน่วยการเรียนรู้ที่๑ เรื่องคำนมัสการคุณานุคุณ) โดยลงท้ายคำประพันธ์ทุกบทด้วยข้อความเดียวกันว่า “ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี”
ซึ่งมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ที่ว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ



เรื่องย่อ

เริ่มต้นกล่าวถึงมนุษย์และเทวดาได้พยายามค้นหาคำตอบว่า อะไรคือมงคล เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี พระอานนท์ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ เชตวันมหาวิหารซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายไว้ ณ เมืองสาวัตถี มีเทวดาองค์หนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาปฐมยามแล้วได้ทูลถามเรื่องมงคล พระพุทธองค์จึงตรัสตอบถึงสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ๓๘ ประการ หลังจากรับฟังเทศนาจบ เหล่าเทวดาก็บรรลุธรรม
มงคลทั้ง ๓๘ ประการ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นคาถาบาลีเพียง ๑๐ คาถา แต่ละคาถาประกอบด้วย ๓-๕ ข้อ และมีคาถมสรุปตอนท้าย ๑ บท ชี้ให้เห็นเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าปฏิบัติตามมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการนี้ได้ จะไม่พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูและจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสืบไป



เนื้อเรื่อง

มงคลสูตรคำฉันท์
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺสม สมฺพุทธฺสฺส ฯ
ต้นมงคลสูตร
(๑) ยญฺจ ทฺวาทส วสฺสานิ จินฺตยิ สุ สเทวกา
สิบสองฉนำเหล่า นรอีกสุเทวา
รวมกันและตริหา สิริมังคลาใด
(๒) จิรสฺสํ จินฺตยนฺตาปิ เนว ชานิ สุ มฺงคลํ
จกฺกวาฬสหสฺเสสฺ ทสสฺ เยน ตตฺตกํ
กาลํ โกลาหลํ ชาตํ ยาว พฺรหฺมนิเวสนา
เทวามนุษย์ทั่ว พหุภพประเทศใน
หมื่นจักรวาลได้ ดำริสิ้นจิรังกาล
แล้วยังบ่รู้มง- คละสมมโนมาลย์
ด้วยกาละล่วงนาน บ่มิได้ประสงค์สม
ได้เกิดซึ่งโกลา- หละยิ่งมโหดม
ก้องถึงณชั้นพรหม ธสถิตสะเทือนไป
(๓) ยํ โลกนาโถ เทเสสิ
องค์โลกนาถเทศน์ วรมังคลาใด
(๔) สพฺพปาปวินาสนํ
ยังปาปะปวงให้ ทุษะเสื่อมวินาศลง
(๕) ยํ สุตฺวา สพฺพทุกฺเขหิ มุจฺจนฺตาสงฺขิยา นรา
ชนหลายบพึงนับ ผิสดับสุมงคล
ใดแล้วและรอดพ้น พหุทุกขะยายี
(๖) เอวมาทิคุณูเปตํ มงฺคลนฺตมฺภณาม เส. ฯ
เราจะกล่าวมง- คละอันประเสริฐที่
กอบด้วยคุณามี วรอัตถะเฉิดเฉลา ฯ
มงคลสูตร
(๑) เอวมฺเม สุตํ
องค์พระอานนท่ทานเล่าว่า ว่าข้าพเจ้า
ได้ฟังมาแล้วดังนี้
(๒) เอกํ สมยํ ภควา
สมัยหนึ่งพระผู้มี พระภาคชินสีห์
ผู้โลกนาถจอมธรรม์
๓ สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม.
ประทับ ณ เชตวัน วิหาระอัน
อนาถบิณฑิกไซร้
จัดสร้างอย่างดีที่ใน สาวัตถีให้
เป็นที่สถิตสุขา
(๔) อถ โข อญฺญตฺรา เทวตา
ครั้งนั้นแลเมวดา องค์หนึ่งมหา
นุภาพมหิทธิ์ฤทธี
(๕) อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา
ล่วงประถมยามราตรี เธอเปล่งรัศมี
อันเรืองระยับจับเนตร
(๖) เกวลกปฺปํ เชตวนํ โอภาเสตตฺวา
แสงกายเธอปลั่งยังเขต สวนแห่งเจ้าเชต
สว่างกระจ่างทั่วไป
(๗) เยน ภควา เนตุปสงฺกมิ
องค์พระภควันต์นั้นไซร้ ประทับแห่งใด
ก็เข้าไปถึงทั่น้น
(๘) อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา
ครั้นเข้าใกล้แล้วจึ่งพลัน ถวายอภิวันท์
แด่องค์สมเด็จทศพล

(๙) เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ.
แล้วยืนที่ควรดำกล เสงี่ยมเจียมตน
แสดงเคารพนบศีร์
(๑๐) เอกมนฺตํ ฐิตาโข สา เทวตา
เมื่อเทวดายืนดี สมควร ณ ที่
ข้างหนึ่งดังกล่าวแล้วนั้น
(๑๑) ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิฯ
จึ่งได้ทูลถามภควันต์ ด้วยถ้อยประพันธ์
เป็นคาถาบรรจงฯ
พหู เทวา มนุสฺสา จ มงฺคลานิ อจินฺตยํ
อากงฺขมานา โสตฺถานํ พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํฯ
เทพอีกมนุษย์หวัง คติโสตถิจำนง
โปรดเทศนามง- คละเอกอุดมดีฯ
(ฝ่ายองค์สมเด็จพระชินสีห์ ตรัสตอบวาที ด้วยพระคาถาไพรจิตร)



๑. อวเสนา จ พาลานํ ปณํฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชะนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอึดมดี
๒. ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ความอยู่ประเทศซึ่ง เหมาะและควรจะสุขี
อีกบุญญะการที่ ณ อดีตะมาดล
อีกหมั่นประพฤติควร ณ สภาวะแห่งตน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๓. พาหุสจฺจญญฺจ สิปฺปญฺจ วินโย จ สุสิกฺขิโต
สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ความได้สดับมาก และกำหนดสุวาที
อีกศิลปะศาสตร์มี จะประกอบมนุญการ
อีกหนึ่งวินัยอัน นรเรียนและเชี่ยวชาญ
อีกคำเพราะบรรสาน ฤดิแห่งประชาชาน
ทั้งสี่ประการล้วน จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๔. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห
อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
บำรุงบิดามา- ตุระด้วยหทัยปรีย์
หากลูกและเมียมี ก็ถนอมประหนึ่งตน
การงานกระทำไป บ่มิยุ่งและสับสน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๕. ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ ญาตกานญฺจ สงฺคโห
อนวชฺชานิ กมฺมานิ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ให้ทาน ณ กาลควร และประพฤติสุธรรมศรี
อีกสงเคราะห์ญาติที่ ปฏิบัติบำเรอตน
กอบกรรมะอันไร้ ทุษะกลั่วและมัวมล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๖. อารตี วิรตี ปาปา มชฺชปานา จ สญฺญโม
อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ความงดประพฤติบาป อกุศลบ่ให้มี
สำรวมวรินทรีย์ และสุราบ่เมามล
ความไม่ประมาทใน พหุธรรมะโกศล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๗. คารโว จ นิวาโต จ สนฺตุฏฐี จ กตญฺญุตา
กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
เคารพ ณ ผู้ควร จะประณตและนอบศีร์
อีหนึ่งมิได้มี จะกระด้างและจองหอง
ยินดี ณ ของตน บ่มิโลภทะยานปอง
อีกรู้คณาของ นรผู้ประคองตน
ฟังธรรมะโดยกา- ละเจริญคุณานนท์
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๘. ขนฺตี จ โสวจสฺสตา สมณานญฺจ ทสฺสนํ
กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
มีจิตตะอดทน และสถิต ณ ขันตี
อีหนึ่งบ่พึงมี ฤดิดื้อทะนงหาญ
หนึ่งเห็นคณาเลิศ สมณาวราจารย์
กล่าวธรมมะโดยกาล วรกิจจะโกศล
ทั้งสี่ประการล้วน จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี

๙. ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺ จ อริยสจฺจานทสฺสนํ
นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
เพียรเผากิเลสสร้าง มละโทษะยายี
อีกนึ่งประพฤติดี ดุจะพรหมพิสุทธิ์สรรพ์
เห็นแจ้ง ณ สี่องค์ พระอรียสัจอัน
อาจนำมนุษย์ผัน ติระข้ามทะเลวน
อีกทำพระนิพพา- นะประจักษะแก่ตน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๑๐. ผุฏฐฺสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
จิตใครผิต้องได้ วรโลกะธรรมศรี
แล้วย่อมบ่มิพึงมี จะประหวั่นฤกังวล
ไร้โศกธุลีสูญ และสบายบ่มัวมล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๑๑. เอตาทิสนิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตถ โสตฺถํ คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ
เทวามนุษย์ทำ วรมงคลาฉะนี้
เป็นผู้ประเสริฐที่ บ่มิแพ้ ณ แห่งหน
ย่อมถึงสวัสดี สิริทุกประการดล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี




บทวิเคราะห์

คุณค่าด้านเนื้อหา     
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา ว่าด้วยเรื่องของ มงคล ๓๘ ประการ ซึ่งเป็นคำสอนที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ โดยเน้นที่ “การปฏิบัติด้วยตนเอง” ลำดับจากง่ายไปยาก ถ้าปฏิบัติได้แล้ว จะทำให้ชีวิตมีแต่ความก้าวหน้าและผาสุก โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยใดๆ เนื่องจากการปฏิบัติด้วยตนเองย่อมมอบความเป็นมงคลที่แท้จริงให้แก่ชีวิต ซึ่งจะนำพาชีวิตของแต่ละคนไปในทางที่เจริญแล้ว ยังทำให้สังคมโดยรวมสงบสุขและเจริญก้าวหน้าไปด้วย
นอกจากนี้คำสอนในมงคล ๓๘ ประการยังเป็นแนวทางที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ด้วยมีความสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในทุกวัย โดยเริ่มต้นจากระดับพื้นฐานที่สำคัญ คือ การคบคน ดังที่กล่าวว่า
(๑) อวเสนา จ พาลานํ ปณํฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชะนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอึดมดี

คำประพันธ์บทนี้กล่าวถึงมงคลประการที่ ๑ ถึง ๓ ซึ่งเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการคบคนหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลรอบข้าง เริ่มตั้งแต่การหลีกเลี่ยงจากคนพาล การสมาคมกับคนดี และการมีสัมมาคารวะต่อบุคลที่เคารพ ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับทุกคน เนื่องจากการที่เราคบคนเช่นใด โอกาสที่จะทำให้เรากลายเป็นคนเช่นนั้นหรือมีพฤติกรรมที่คล้ายกัน และนอกจากการรู้จักเลือกคบคนแล้ว การมีสัมมาคารวะหรือการรู้จักเคารพต่อบุคคลที่ควรบูชาเคารพ ย่อมทำให้เราเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไป และยังได้รับความเมตตาหรือคำแนะนำที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตอีกด้วย

นอกจากมงคลสูตรคำฉันท์จะมีการแปลและเรียบเรียงเนื้อความจากคาถาภาษาบาลีแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงอธิบายขยายความมงคลในแต่ละข้อเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจความหายได้อย่างชัดเจน เช่นในคาถาที่ ๗ กล่าวถึงมงคลข้อที่ ๒๒ คือ มีความเคารพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอธิบายให้ชัดเจนว่า ควรมีความเคารพผู้ใด และในมงคลข้อที่ ๒๔ มีความสันโดษ ได้ทรงอธิบายเพิ่มเติมว่ามีความหายอย่างไร

(๗) คารโว จ นิวาโต จ สนฺตุฏฐี จ กตญฺญุตา
กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
เคารพ ณ ผู้ควร จะประณตและนอบศีร์
อีหนึ่งมิได้มี จะกระด้างและจองหอง
ยินดี ณ ของตน บ่มิโลภทะยานปอง
อีกรู้คณาของ นรผู้ประคองตน
ฟังธรรมะโดยกา- ละเจริญคุณานนท์
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี


สำหรับมงคลในข้ออื่นๆ เป็นข้อแนะนำที่สอดคล้องไปตามวัยและวุฒิภาวะ ตั้งแต่การปฏิบัติตนที่เป็นมงคลเมื่อยู่ในช่วงวัยเรียน เมื่อมีหน้าที่การทำงาน เมื่อมีครอบครัว เรื่อยไปจนถึงวัยที่ควรละจาการกิจกรรมทั้งหลาย เพื่อแสวงหาสัจธรรมในบั้นปลายของชีวิต จนสุดท้ายสามารถละกิเลสอันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวงเพื่อมุ่งสู่ความสุขที่แท้จริง


คุณค่าด้านวรรณศิลป์

เนื้อความในมงคลสูตรคำฉันท์ แม้จะมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีและมีคำศัพท์ในทางพระพุทธศาสนา แต่ก็เป็นคำที่เข้าใจความหายได้ไม่ยาก เช่น โสตถิ ภควันต์ เป็นต้น
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงสามารถถ่ายทอดและเรียบเรียงเนื้อความเป็นภาษาไทยได้อย่างเรียบง่าย แต่มีความไพเราะ และสามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ดังเช่น

ครั้งนั้นแลเทวดา องค์หนึ่งมหา-
นุภาพมหิทธิ์ฤทธี
ล่วงประถมยามราตรี เธอเปล่งรัศมี
อันเรืองระยับจับเนตร
แสงกายเธอปลั่งยังเขต สวนแห่งเจ้าเชต
สว่างกระจ่างทั่วไป
องค์ภควันต์นั้นไซร้ ประทับแห่งใด
ก็เข้าไปถึงที่นั้น ฯ
ครั้นเข้าใกล้แล้วจึ่งพลัน ถวายอภิวันท์
แด่องค์สมเด็จทศพล
แล้วยืนที่ควรดำกล เสงี่ยมเจียมตน
แสดงความเคารพนบศีร์

ข้อความข้างต้นเป็นบทประพันธ์ที่มีถ้อยคำเรียบง่าย แต่สามารถบรรยายให้เห็นถึงมหิทธานุภาพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใด แต่ว่าเทวดาซึ่งมีฤทธิ์และมีรัศมีเปล่งประกายไปทั่วเชตวันมหาวิหาร ก็ยัง “ถวายอภิวันท์”แด่ “สมเด็จทศพล” หรือพระพุทธเจ้าด้วยความ “เสงี่ยมเจียมตน”

คุณค่าด้านสังคม

มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีมาจาก “มงคลสูตร” ซึ่งเป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคนโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน เมื่อได้นำไปปฏิบัติ ย่อมจะทำให้ชีวิตประสบกับ “มงคล” หรือความสุขอย่างแท้จริง แนวทางต่างๆเน้นที่การนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมด้วยตนเองเป็นสำคัญ นอกจากนี้หากทุกคนได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย