ความเป็นมา
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนืือหาว่าด้วย มงคล 38 อันเป็นพระสูตร หนึ่งในพระไตรปิฏก พระสุตตันัปิฏก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
คำว่ามงคล หมายถง เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า และ สูตร หมายถึง คำสอนในพระพุทธศาสนา มงคลสูตร จึงหมายความว่า พระธรรมหรือคำสอน ในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า
ประวัติผู้แต่ง
บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องที่ยัง
มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครคำพูดฉันท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอ
ลักษณะคำประพันธ์
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่พระบาทสมเด็จพระมซึ่งมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ที่ว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
เรื่องย่อ
มงคลทั้ง ๓๘ ประการ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นคาถาบาลี
เนื้อเรื่อง
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺสม สมฺพุทธฺสฺส ฯ
ต้นมงคลสูตร
(๑) ยญฺจ ทฺวาทส วสฺสานิ จินฺตยิ สุ สเทวกา
สิบสองฉนำเหล่า นรอีกสุเทวา
รวมกันและตริหา สิริมังคลาใด
(๒) จิรสฺสํ จินฺตยนฺตาปิ เนว ชานิ สุ มฺงคลํ
จกฺกวาฬสหสฺเสสฺ ทสสฺ เยน ตตฺตกํ
กาลํ โกลาหลํ ชาตํ ยาว พฺรหฺมนิเวสนา
เทวามนุษย์ทั่ว พหุภพประเทศใน
หมื่นจักรวาลได้ ดำริสิ้นจิรังกาล
แล้วยังบ่รู้มง- คละสมมโนมาลย์
ด้วยกาละล่วงนาน บ่มิได้ประสงค์สม
ได้เกิดซึ่งโกลา- หละยิ่งมโหดม
ก้องถึงณชั้นพรหม ธสถิตสะเทือนไป
(๓) ยํ โลกนาโถ เทเสสิ
องค์โลกนาถเทศน์ วรมังคลาใด
(๔) สพฺพปาปวินาสนํ
ยังปาปะปวงให้ ทุษะเสื่อมวินาศลง
(๕) ยํ สุตฺวา สพฺพทุกฺเขหิ มุจฺจนฺตาสงฺขิยา นรา
ชนหลายบพึงนับ ผิสดับสุมงคล
ใดแล้วและรอดพ้น พหุทุกขะยายี
(๖) เอวมาทิคุณูเปตํ มงฺคลนฺตมฺภณาม เส. ฯ
เราจะกล่าวมง- คละอันประเสริฐที่
กอบด้วยคุณามี วรอัตถะเฉิดเฉลา ฯ
มงคลสูตร
(๑) เอวมฺเม สุตํ
องค์พระอานนท่ทานเล่าว่า ว่าข้าพเจ้า
ได้ฟังมาแล้วดังนี้
(๒) เอกํ สมยํ ภควา
สมัยหนึ่งพระผู้มี พระภาคชินสีห์
ผู้โลกนาถจอมธรรม์
๓ สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม.
ประทับ ณ เชตวัน วิหาระอัน
อนาถบิณฑิกไซร้
จัดสร้างอย่างดีที่ใน สาวัตถีให้
เป็นที่สถิตสุขา
(๔) อถ โข อญฺญตฺรา เทวตา
ครั้งนั้นแลเมวดา องค์หนึ่งมหา
นุภาพมหิทธิ์ฤทธี
(๕) อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา
ล่วงประถมยามราตรี เธอเปล่งรัศมี
อันเรืองระยับจับเนตร
(๖) เกวลกปฺปํ เชตวนํ โอภาเสตตฺวา
แสงกายเธอปลั่งยังเขต สวนแห่งเจ้าเชต
สว่างกระจ่างทั่วไป
(๗) เยน ภควา เนตุปสงฺกมิ
องค์พระภควันต์นั้นไซร้ ประทับแห่งใด
ก็เข้าไปถึงทั่น้น
(๘) อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา
ครั้นเข้าใกล้แล้วจึ่งพลัน ถวายอภิวันท์
แด่องค์สมเด็จทศพล
(๙) เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ.
แล้วยืนที่ควรดำกล เสงี่ยมเจียมตน
แสดงเคารพนบศีร์
(๑๐) เอกมนฺตํ ฐิตาโข สา เทวตา
เมื่อเทวดายืนดี สมควร ณ ที่
ข้างหนึ่งดังกล่าวแล้วนั้น
(๑๑) ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิฯ
จึ่งได้ทูลถามภควันต์ ด้วยถ้อยประพันธ์
เป็นคาถาบรรจงฯ
พหู เทวา มนุสฺสา จ มงฺคลานิ อจินฺตยํ
อากงฺขมานา โสตฺถานํ พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํฯ
เทพอีกมนุษย์หวัง คติโสตถิจำนง
โปรดเทศนามง- คละเอกอุดมดีฯ
(ฝ่ายองค์สมเด็จพระชินสีห์ ตรัสตอบวาที ด้วยพระคาถาไพรจิตร)
๑. อวเสนา จ พาลานํ ปณํฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชะนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอึดมดี
๒. ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ความอยู่ประเทศซึ่ง เหมาะและควรจะสุขี
อีกบุญญะการที่ ณ อดีตะมาดล
อีกหมั่นประพฤติควร ณ สภาวะแห่งตน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๓. พาหุสจฺจญญฺจ สิปฺปญฺจ วินโย จ สุสิกฺขิโต
สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ความได้สดับมาก และกำหนดสุวาที
อีกศิลปะศาสตร์มี จะประกอบมนุญการ
อีกหนึ่งวินัยอัน นรเรียนและเชี่ยวชาญ
อีกคำเพราะบรรสาน ฤดิแห่งประชาชาน
ทั้งสี่ประการล้วน จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๔. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห
อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
บำรุงบิดามา- ตุระด้วยหทัยปรีย์
หากลูกและเมียมี ก็ถนอมประหนึ่งตน
การงานกระทำไป บ่มิยุ่งและสับสน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๕. ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ ญาตกานญฺจ สงฺคโห
อนวชฺชานิ กมฺมานิ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ให้ทาน ณ กาลควร และประพฤติสุธรรมศรี
อีกสงเคราะห์ญาติที่ ปฏิบัติบำเรอตน
กอบกรรมะอันไร้ ทุษะกลั่วและมัวมล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๖. อารตี วิรตี ปาปา มชฺชปานา จ สญฺญโม
อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ความงดประพฤติบาป อกุศลบ่ให้มี
สำรวมวรินทรีย์ และสุราบ่เมามล
ความไม่ประมาทใน พหุธรรมะโกศล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๗. คารโว จ นิวาโต จ สนฺตุฏฐี จ กตญฺญุตา
กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
เคารพ ณ ผู้ควร จะประณตและนอบศีร์
อีหนึ่งมิได้มี จะกระด้างและจองหอง
ยินดี ณ ของตน บ่มิโลภทะยานปอง
อีกรู้คณาของ นรผู้ประคองตน
ฟังธรรมะโดยกา- ละเจริญคุณานนท์
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๘. ขนฺตี จ โสวจสฺสตา สมณานญฺจ ทสฺสนํ
กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
มีจิตตะอดทน และสถิต ณ ขันตี
อีหนึ่งบ่พึงมี ฤดิดื้อทะนงหาญ
หนึ่งเห็นคณาเลิศ สมณาวราจารย์
กล่าวธรมมะโดยกาล วรกิจจะโกศล
ทั้งสี่ประการล้วน จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๙. ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺ จ อริยสจฺจานทสฺสนํ
นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
เพียรเผากิเลสสร้าง มละโทษะยายี
อีกนึ่งประพฤติดี ดุจะพรหมพิสุทธิ์สรรพ์
เห็นแจ้ง ณ สี่องค์ พระอรียสัจอัน
อาจนำมนุษย์ผัน ติระข้ามทะเลวน
อีกทำพระนิพพา- นะประจักษะแก่ตน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๑๐. ผุฏฐฺสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
จิตใครผิต้องได้ วรโลกะธรรมศรี
แล้วย่อมบ่มิพึงมี จะประหวั่นฤกังวล
ไร้โศกธุลีสูญ และสบายบ่มัวมล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
๑๑. เอตาทิสนิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตถ โสตฺถํ คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ
เทวามนุษย์ทำ วรมงคลาฉะนี้
เป็นผู้ประเสริฐที่ บ่มิแพ้ ณ แห่งหน
ย่อมถึงสวัสดี สิริทุกประการดล
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
บทวิเคราะห์
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นคำส
นอกจากนี้คำสอนในมงคล ๓๘ ประการยังเป็นแนวทางที่ทุกคนสาม
(๑) อวเสนา จ พาลานํ ปณํฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชะนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอึดมดี
คำประพันธ์บทนี้กล่าวถึงมงคลประ
นอกจากมงคลสูตรคำฉันท์จะมีการแป
(๗) คารโว จ นิวาโต จ สนฺตุฏฐี จ กตญฺญุตา
กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
เคารพ ณ ผู้ควร จะประณตและนอบศีร์
อีหนึ่งมิได้มี จะกระด้างและจองหอง
ยินดี ณ ของตน บ่มิโลภทะยานปอง
อีกรู้คณาของ นรผู้ประคองตน
ฟังธรรมะโดยกา- ละเจริญคุณานนท์
ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี
สำหรับมงคลในข้ออื่นๆ เป็นข้อแนะนำที่สอดคล้องไปตามวั
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
เนื้อความในมงคลสูตรคำฉันท์ แม้จะมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีและ
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเ
ครั้งนั้นแลเทวดา องค์หนึ่งมหา-
นุภาพมหิทธิ์ฤทธี
ล่วงประถมยามราตรี เธอเปล่งรัศมี
อันเรืองระยับจับเนตร
แสงกายเธอปลั่งยังเขต สวนแห่งเจ้าเชต
สว่างกระจ่างทั่วไป
องค์ภควันต์นั้นไซร้ ประทับแห่งใด
ก็เข้าไปถึงที่นั้น ฯ
ครั้นเข้าใกล้แล้วจึ่งพลัน ถวายอภิวันท์
แด่องค์สมเด็จทศพล
แล้วยืนที่ควรดำกล เสงี่ยมเจียมตน
แสดงความเคารพนบศีร์
ข้อความข้างต้นเป็นบทประพันธ์ที
คุณค่าด้านสังคม
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่มีมาจาก “มงคลสูตร” ซึ่งเป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น